กำแพงเพชร

กำแพงเพชร ใช้อักษรย่อ กพ เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคกลางตอนบน มีพื้นที่เป็นอันดับที่ 4 ของภาคกลาง รองจากจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 22 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับที่ 54 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเก่าแก่หลายแห่ง เช่น เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคณฑี เป็นต้น[3] มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากมาย เช่น อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และยังเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกอีกด้วย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดตาก

จังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภาคกลาง โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย เพราะมีแม่น้ำปิงไหลผ่านจังหวัดเป็นระยะทาง 104 กิโลเมตร โดยจะมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ เป็นเทือกเขาสูงอยู่ทางทิศตะวันตก จังหวัดกำแพงเพชรได้รับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุม ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดกำแพงเพชรมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนทำให้มีฝนตกทั่วไป [4]

ประวัติ

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

วัดช้างรอบ โบราณสถานที่สำคัญ
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร...

ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐาน ให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่ มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังทรงวินิจฉัยว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองเดียวกับเมืองชากังราว แต่ปัจจุบันมีแนวคิดที่แตกต่างออกไป

ปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดกำแพงเพชรมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลางตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 362 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 8,607.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,379,688 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก, อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอสามง่าม อำเภอบึงนาราง และอำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบรรพตพิสัย อำเภอลาดยาว และอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
สภาพภูมิประเทศ

ลำน้ำคลองขลุง
จังหวัดกำแพงเพชรมีแม่น้ำปิงไหลผ่านเป็นระยะทางยาวประมาณ 104 กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ 1 เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างแบบตะพักลุ่มน้ำ (Alluvial Terrace) มีระดับความสูงประมาณ 43-107 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกและใต้ของจังหวัด
ลักษณะที่ 2 เป็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับที่ราบ พบเห็นบริเวณด้านเหนือ และตอนกลางของจังหวัด
ลักษณะที่ 3 เป็นภูเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งแร่ธาตุ และต้นน้ำลำธารต่างๆ ที่สำคัญ เช่น คลองวังเจ้า คลองสวนหมาก คลองขลุง และคลองวังไทร ไหลลงสู่แม่น้ำปิง
โดยสรุปแล้ว ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ด้านตะวันตกเป็นภูเขาสูงลาดลงมา ทางด้านตะวันออก ลักษณะดินเป็นดินปนทรายเหมาะแก่การทำนา และปลูกพืชไร่

สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศของจังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนปกคลุม ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดกำแพงเพชรมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนทำให้มีฝนตกทั่วไป สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู

ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมมีอากาศร้อนอบอ้าว ทั่วไป โดยเฉพาะในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี
ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระยะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนกันยายน
ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง เดือนที่มีอากาศหนาวที่สุดคือ เดือนธันวาคมและมกราคม [4]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด: รูปกำแพงมีเพชรฝังอยู่ในใบเสมา
ธงประจำจังหวัด: เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง
คำขวัญประจำจังหวัด: กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพิกุล (Mimusops elengi)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: สีเสียดแก่น (Acadia catechu)
ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร


ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร


ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

การเมืองการปกครอง
หน่วยการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
จังหวัดกำแพงเพชรแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 78 ตำบล 823 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้


แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
เลข อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนตำบล ประชากร
(พ.ศ. 2563) พื้นที่
(ตร.กม.) ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
1 เมืองกำแพงเพชร Amphoe Mueang Kamphaeng Phet 16 209,165 1,348.536 155.11
2 ไทรงาม Amphoe Sai Ngam 7 50,385 448.9 112.24
3 คลองลาน Amphoe Khlong Lan 4 62,458 1,140.2 54.78
4 ขาณุวรลักษบุรี Amphoe Khanu Woralaksaburi 11 103,089 1,158.780 88.96
5 คลองขลุง Amphoe Khlong Khlung 10 68,788 783.332 87.82
6 พรานกระต่าย Amphoe Phran Kratai 10 70,437 1,081.791 65.11
7 ลานกระบือ Amphoe Lan Krabue 7 42,818 429.123 99.78
8 ทรายทองวัฒนา Amphoe Sai Thong Wattana 3 22,751 202.226 112.50
9 ปางศิลาทอง Amphoe Pang Sila Thong 3 30,404 755.981 40.22
10 บึงสามัคคี Amphoe Bueng Samakkhi 4 25,595 287.831 88.92
11 โกสัมพีนคร Amphoe Kosamphi Nakhon 3 28,227 489.400 57.68
รวม 78 714,117 8,607.490 82.97
การปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดกำแพงเพชรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 90 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, เทศบาลเมือง 3 แห่ง คือ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร เทศบาลเมืองหนองปลิง และเทศบาลเมืองปางมะค่า, เทศบาลตำบล 22 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 64 แห่ง[5] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชรมีดังนี้

อำเภอเมืองกำแพงเพชร

เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
เทศบาลเมืองหนองปลิง
เทศบาลตำบลคลองแม่ลาย
เทศบาลตำบลนครชุม
เทศบาลตำบลปากดง
เทศบาลตำบลเทพนคร
เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล
อำเภอไทรงาม

เทศบาลตำบลไทรงาม
อำเภอขาณุวรลักษบุรี

เทศบาลเมืองปางมะค่า
เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี
เทศบาลตำบลสลกบาตร
อำเภอพรานกระต่าย

เทศบาลตำบลพรานกระต่าย
เทศบาลตำบลบ้านพราน
เทศบาลตำบลคลองพิไกร
เทศบาลตำบลเขาคีริส
อำเภอคลองขลุง

เทศบาลตำบลคลองขลุง
เทศบาลตำบลท่าพุทรา
เทศบาลตำบลท่ามะเขือ
เทศบาลตำบลวังยาง
อำเภอคลองลาน

เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา
อำเภอลานกระบือ

เทศบาลตำบลลานกระบือ
เทศบาลตำบลช่องลม
เทศบาลตำบลประชาสุขสันต์
อำเภอทรายทองวัฒนา

เทศบาลตำบลทุ่งทราย
อำเภอปางศิลาทอง

ไม่มีเทศบาล
อำเภอบึงสามัคคี

เทศบาลตำบลระหาน
อำเภอโกสัมพีนคร

ไม่มีเทศบาล
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระยารามรณรงค์สงคราม (นุช) –
2 พระยารามรณรงค์สงคราม (นาค) –
3 พระยารามรณรงค์สงคราม (บัว) –
4 พระยารามรณรงค์สงคราม (เถื่อน) –
5 พระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย) –
6 พระยารามรณรงค์สงคราม (เกิด) –
7 พระอินทรเดช (บัว รามโกมุท) –
8 พระยารามรณรงค์สงคราม (อ่อง) –
9 พระยามหานุภาพ –
10 พระยารามรณรงค์สงคราม (อุ่น รามสูต) –
11 พระยารามรณรงค์สงคราม (หรุ่น อินทรสูต) –
12 พระยาวิเชียรปราการ (ฉาย อัมพะเศวต) พ.ศ. 2449
13 พระยากำแพงพลล้าน (ชื้น คชภูมิ) –
14 พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมภ์) –
15 พระผดุงภูมิพิพัฒน์ (สิน สุคันธคุล) –
16 พระรังสรรค์สารกิจ (เทียน กาญจนประกร) พ.ศ. 2469–2470
17 พระยาสำราญนฤปกิจ (เชื้อ โรจนวิภาติ) พ.ศ. 2470–2470
18 หลวงศรีนฤนาท (ม.ล.สวาสดิ์ อิศรางกูล ณ อยุธยา) พ.ศ. 2470–2471
19 พระยาภักดีดินแดน (เชื่อม มุสิกวัต) พ.ศ. 2472–2478
20 หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ พ.ศ. 2478–2482
21 หลวงปริวรรตวรจิตร (จันทร์ เจริญชัย) พ.ศ. 2482–2484
22 พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์) พ.ศ. 2484–2486
23 นายใหญ่ สิมะสิงห์ พ.ศ. 2486–2488
24 หลวงนครคุณปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) พ.ศ. 2488–2489
25 นายทำนุก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พ.ศ. 2490–2490
26 หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น เขียนอาภรณ์) พ.ศ. 2490 มิ.ย. – ธ.ค.
27 นายสุวรรณ รื่นยศ พ.ศ. 2490–2493
28 นายจรัส ธารีสาร พ.ศ. 2493–2498
29 นายนารถ มนตเสวี พ.ศ. 2498–2499
30 นายสนิท จุฑะรพ​ พ.ศ. 2499–2500
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
31 นายลิขิต สัตยายุทย์ พ.ศ. 2500–2500
32 ขุนอักษรสารสิทธิ์ พ.ศ. 2500–2501
33 นายขณห์ นกแก้ว พ.ศ. 2501–2502
34 นายพัฒน์ พินทุโยธิน พ.ศ. 2503–2507
35 ร.ต.ท.ปิ่น สหัสโชติ พ.ศ. 2507–2512
36 นายบุญรอด โชตะมังษะ พ.ศ. 2512–2514
37 นายรำไพ นิมิตกุล พ.ศ. 2514–2519
38 นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2519–2521
39 นายประกิต อุตตะโมต พ.ศ. 2521–2522
40 นายฉลอง วงษา พ.ศ. 2522–2523
41 นายจำนง ยังเทียน พ.ศ. 2523–2525
42 นายเชาว์วัศ สุดลาภา พ.ศ. 2525–2527
43 นายชาญ พันธุมรัตน์ พ.ศ. 2527–2531
44 พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ พ.ศ. 2531–2532
45 ร.ต.ทวี ผดุงรัตน์ พ.ศ. 2532–2533
46 ร.อ.อริยะ อุปารมี พ.ศ. 2533–2534
47 ร.ต.สมนึก เกิดเกษ พ.ศ. 2534–2536
48 นายศิวะ แสงมณี พ.ศ. 2536–2540
49 นายกฤษณ์ ธีระชัยชยุติ พ.ศ. 2540–2541
50 นายยงยุทธ ตะโกพร พ.ศ. 2541–2544
51 นายกฤช อาทิตย์แก้ว พ.ศ. 2544–2547
52 นายไพศาล รัตนพัลลภ พ.ศ. 2547–2549
53 นายวิทยา ผิวผ่อง พ.ศ. 2549–2551
54 นายวันชัย อุดมสิน พ.ศ. 2551–2552
55 นายวันชัย สุทิน พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน 2556
56 นายสุรพล วาณิชเสนี 1 ตุลาคม 2556 – 1 กุมภาพันธ์ 2558
57 นายธานี ธัญญาโภชน์ 2 กุมภาพันธ์ 2558 – 30 กันยายน 2560
58 นายธัชชัย สีสุวรรณ 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
59 นายเชาวลิตร แสงอุทัย 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2565
60 นายชาธิป รุจนเสรี 1 ตุลาคม 2565 – ปัจจุบัน
การศึกษา
จังหวัดกำแพงเพชร มีสถาบันการศึกษาหลากหลายแห่ง ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา ดังนี้

มัธยมศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
โรงเรียนวัชรวิทยา
โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กำแพงเพชร
โรงเรียนนครไตรตรึงษ์
โรงเรียนคณฑีพิทยาคม
โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลวิทยา
โรงเรียนนาบ่อคำพิทยาคม
โรงเรียนหนองกองพิทยาคม
โรงเรียนวังตะเคียนประชานุสรณ์
อำเภอไทรงาม
โรงเรียนไทรงามพิทยาคม
โรงเรียนบ่อแก้ววิทยา
อำเภอคลองลาน
โรงเรียนคลองลานวิทยา
โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์
โรงเรียนสักงามวิทยา
อำเภอขาณุวรลักษบุรี
โรงเรียนขาณุวิทยา
โรงเรียนสลกบาตรวิทยา
โรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม
โรงเรียนโค้งไผ่วิทยา
อำเภอคลองขลุง
โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์
โรงเรียนวังแขมวิทยาคม
โรงเรียนวังไทรวิทยาคม
อำเภอพรานกระต่าย
โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
โรงเรียนพิไกรวิทยา
โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม
อำเภอลานกระบือ
โรงเรียนลานกระบือวิทยา
โรงเรียนราษฎร์ปรีชาวิทยาคม
โรงเรียนพัชรกิติยาภา 2 กำแพงเพชร
อำเภอทรายทองวัฒนา
โรงเรียนทุ่งทรายวิทยา
อำเภอปางศิลาทอง
โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา
อำเภอบึงสามัคคี
โรงเรียนระหานวิทยา
อำเภอโกสัมพีนคร
โรงเรียนโกสัมพีวิทยา
ประถมศึกษา
ดูบทความหลักที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดกำแพงเพชร
อาชีวศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี กำแพงเพชร
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
วิทยาลัยการอาชีพขาณุวรลักษบุรี
อุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการกำแพงเพชร (โรงเรียนวัชรวิทยา)
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา ศูนย์การศึกษากำแพงเพชร (โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร กีฬา)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษากำแพงเพชร (วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง))
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (หน่วยวิทยบริการ วัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร)
วิทยาลัยสงฆ์กำแพงเพชร (กำลังดำเนินการ พื้นที่ก่อสร้างบริเวณตลาดคลองแม่ลาย)
การคมนาคม
รถยนต์
จากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดกำแพงเพชรได้หลายเส้นทาง คือ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธิน ผ่านมาจากพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี จนถึงจังหวัดนครสวรรค์ แล้วไปทางทิศตะวันตก เรื่อยไปจนถึงทางแยกสลกบาตร ที่อำเภอขาณุวรลักษณบุรี คลองขลุง และจังหวัดกำแพงเพชร รวมระยะทางทั้งหมด 350 กิโลเมตร
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 (กำแพงเพชร-สากเหล็ก) ผ่านจากจังหวัดนครสวรรค์ แล้วขับตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117จนถึงทางแยกปลวกสูง ที่อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปจนถึงอำเภอไทรงาม และจังหวัดกำแพงเพชร รวมระยะทางทั้งหมด 398 กิโลเมตร
ทางหลวงแผ่นดิน

วงเวียนต้นโพธิ์
ทางหลวงสายสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรมีดังนี้

ทางหลวงหมายเลขหลักเดียว
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เริ่มจากรอยต่อจังหวัดนครสวรรค์กับอำเภอขาณุวรลักษบุรี-สลกบาตร-โค้งวิไล-คลองขลุง-ท่าพุทรา-ปากดง-คลองแม่ลาย-บ้านทุ่งเศรษฐี-นครชุม-แล้วไปเชื่อมต่อกับจังหวัดตากที่อำเภอโกสัมพีนคร
ทางหลวงหมายเลขสามหลัก
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (ถนนกำแพงเพชร-สุโขทัย) ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เริ่มจากแยกนครชุม-วงเวียนต้นโพธิ์ (แยกเทศา)-ผ่านอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร-หนองปลิง (กำแพงเพชร)-พรานกระต่าย-แล้วไปเชื่อมต่อกับจังหวัดสุโขทัยที่ตำบลวังตะแบก อำเภอพรานกระต่าย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 (ถนนกำแพงเพชร-สากเหล็ก) ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เชื่อมต่อจากถนนเจริญสุข (เทศบาลเมืองกำแพงเพชร)-สระแก้ว (กำแพงเพชร)-หนองเต่า-บ้านบ่อทอง-ทุ่งมหาชัย-แก้วสุวรรณ (วังพิกุล)-ไทรงาม-แล้วไปเชื่อมต่อกับจังหวัดพิจิตรที่ตำบลหนองไม้กอง อำเภอไทรงาม
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอพรานกระต่าย 26 กิโลเมตร
อำเภอโกสัมพีนคร 34 กิโลเมตร
อำเภอไทรงาม 43 กิโลเมตร
อำเภอลานกระบือ 45 กิโลเมตร
อำเภอคลองขลุง 46 กิโลเมตร
อำเภอคลองลาน 52 กิโลเมตร
อำเภอทรายทองวัฒนา 60 กิโลเมตร
อำเภอปางศิลาทอง 63 กิโลเมตร
อำเภอบึงสามัคคี 80 กิโลเมตร
อำเภอขาณุวรลักษบุรี 83 กิโลเมตร
งานประเพณี

ประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง
ประเพณีงานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
งานเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร
งานแข่งขันเรือยาวประเพณีลำน้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานเทศกาลกินกุ้งก้ามกราม
สถานที่สำคัญ

ช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ศูนย์วัฒนธรรมชนชาวเขา อำเภอคลองลาน
บุคคลที่มีชื่อเสียง
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) – พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
แก้ว พงษ์ประยูร – นักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย
คนึง ไทยประสิทธิ์ – นักการเมือง
จักรกริช แอลจียิม – นักมวย
ฉัตรชัย บุตรพรหม – นักฟุตบอลชาวไทย
ทศพล หิมพานต์ – นักร้อง
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง – นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์
ไพรัช ธัชยพงษ์ – นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
มาลัย ชูพินิจ – นักเขียน นักหนังสือพิมพ์
รอง เค้ามูลคดี – นักแสดง
เรืองวิทย์ ลิกค์ – นักการเมือง
ลูกนก สุภาพร – นักร้อง
วราเทพ รัตนากร – นักการเมือง
สมาน ส.จาตุรงค์ – นักมวย
สมพร ยศ – นักฟุตบอลชาวไทย
อานนท์ บุษผา – นักฟุตบอลชาวไทย
ลาภิสรา อินทรสูต – นักร้อง นักแสดง พิธีกร
วัฒนา พลายนุ่ม – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
ตากเพชร​ เลขา​วิจิตร​ – พิธีกร​และ​นักแสดงสังกัด​ช่อง7​HD
สุพัตรา ไพโรจน์ – นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย

Visitors: 4,662