ชัยนาท

ชัยนาท เดิมสะกดว่า ไชยนาท[3] เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย[4] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี

ประวัติ
ชัยนาทแปลตามศัพท์มีความหมายว่า "เสียงบันลือแห่งชัยชนะ" เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากน้ำเก่า สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยพญาเลอไทครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1860–1879 เมืองแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยาง มาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อย ๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้งและมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองชัยนาทแห่งนี้

ภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดชัยนาทมีลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีพื้นที่ประมาณ 99.06 ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางตอนใต้และตะวันออกของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบจนถึงพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดมีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย ไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกอำเภอ เช่น

แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอมโนรมย์ วัดสิงห์ เมืองชัยนาท และสรรพยา
แม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำมะขามเฒ่า ไหลผ่านอำเภอวัดสิงห์ และหันคา
แม่น้ำน้อย ไหลผ่านอำเภอสรรคบุรี
คลองชลประทาน ซึ่งมีหลายสายไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ คลองอนุศาสนนันท์ คลองมหาราช คลองพลเทพ เป็นต้น ล้วนเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเกษตรกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วไป
นอกจากลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบแล้ว ยังมีเนินเขาเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 – 3 กิโลเมตร กระจ่ายอยู่ทั่วไปที่สำคัญได้แก่ เขาธรรมามูล ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดชัยนาท เขาพลอง เขาขยาย เขากระดี่ เขาใหญ่เขารัก เขาดิน เขาหลัก เขาไก่ห้อย เขาสารพัดดี เขาราวเทียน เขาสรรพยา และเขาแก้ว เป็นต้น

อาณาเขต
จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี และชัยนาท ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นตอนเหนือสุดของภาคกลาง บนเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 16.854 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,469.746 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,543,591 ไร่หรือเท่ากับร้อยละ 15.5 ของพื้นที่ในภาคกลางตอนบนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 1,219,669 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 79.02 ของพื้นที่ทั้งหมด ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 195 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงคือ

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสิงห์บุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา
ตราประจำจังหวัด: รูปพระธรรมจักร รองรับด้วยพญาครุฑ เบื้องหลังเป็นแม่น้ำและภูเขา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์รูปพระธรรมจักรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดธรรมามูลวรวิหาร ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล
ธงประจำจังหวัด: เป็นรูปตราประจำจังหวัดบนพื้นสีบานเย็น (magenta) ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด
ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะตูม (Aegle marmelos)
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica)
สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri)
ตราประจำจังหวัดชัยนาท
ตราประจำจังหวัดชัยนาท


ต้นมะตูม (Aegle marmelos) ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นมะตูม (Aegle marmelos) ต้นไม้ประจำจังหวัด


ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica) ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica) ดอกไม้ประจำจังหวัด


ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri) สัตว์น้ำประจำจังหวัด
ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri) สัตว์น้ำประจำจังหวัด

การเมืองการปกครอง
หน่วยการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดชัยนาท
จังหวัดชัยนาทแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 503 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 8 มีดังนี้

อำเภอเมืองชัยนาท
อำเภอมโนรมย์
อำเภอวัดสิงห์
อำเภอสรรพยา
อำเภอสรรคบุรี
อำเภอหันคา
อำเภอหนองมะโมง
อำเภอเนินขาม
การปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดชัยนาทมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 60 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองชัยนาท, เทศบาลตำบล 38 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 20 แห่ง[5] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดจำแนกตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดชัยนาทมีดังนี้

อำเภอเมืองชัยนาท

เทศบาลเมืองชัยนาท
เทศบาลตำบลชัยนาท
เทศบาลตำบลหาดท่าเสา
เทศบาลตำบลเสือโฮก
เทศบาลตำบลบ้านกล้วย
เทศบาลตำบลนางลือ
เทศบาลตำบลธรรมามูล
อำเภอมโนรมย์

เทศบาลตำบลคุ้งสำเภา
เทศบาลตำบลหางน้ำสาคร
เทศบาลตำบลศิลาดาน
เทศบาลตำบลมโนรมย์
อำเภอวัดสิงห์

เทศบาลตำบลวัดสิงห์
เทศบาลตำบลหนองน้อย
เทศบาลตำบลหนองขุ่น
อำเภอสรรพยา

เทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์
เทศบาลตำบลสรรพยา
เทศบาลตำบลบางหลวง
เทศบาลตำบลหาดอาษา
เทศบาลตำบลตลุก
เทศบาลตำบลโพนางดำออก
เทศบาลตำบลโพนางดำตก
เทศบาลตำบลเจ้าพระยา
อำเภอสรรคบุรี

เทศบาลตำบลแพรกศรีราชา
เทศบาลตำบลสรรคบุรี
เทศบาลตำบลดงคอน
เทศบาลตำบลห้วยกรด
เทศบาลตำบลบางขุด
เทศบาลตำบลโพงาม
เทศบาลตำบลดอนกำ
เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา
อำเภอหันคา

เทศบาลตำบลหันคา
เทศบาลตำบลสามง่ามท่าโบสถ์
เทศบาลตำบลหนองแซง
เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยน
เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนา
เทศบาลตำบลห้วยงู
อำเภอหนองมะโมง

เทศบาลตำบลวังตะเคียน
เทศบาลตำบลหนองมะโมง
อำเภอเนินขาม

เทศบาลตำบลเนินขาม
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำดับ ชื่อ ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (ทองอิน) ไม่ทราบข้อมูล
2 พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (อ้น) ไม่ทราบข้อมูล
3 พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (ขุนเณร) ไม่ทราบข้อมูล
4 พระยามหาอาณุภาพ ไม่ทราบข้อมูล
5 พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (ติ่ง) ไม่ทราบข้อมูล
6 หลวงวิชิตพิทักษ์ (หม่อมหลวงอั้น เสนีวงศ์) ไม่ทราบข้อมูล
7 พระเฑียรฆราษ (แม้น) ไม่ทราบข้อมูล
8 พระกำแพงพลล้าน (ชื้น คชภูมิ) ไม่ทราบข้อมูล
9 พระยาไชยนฤนาท (ฉาย อัมพะเศวต) พ.ศ. 2454–2463
10 หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ พ.ศ. 2463–2465
11 พระยาสุรินทรฦาชัย (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์) พ.ศ. 2465–2469
12 พระยาวิชิตสรไกร (เอี่ยม ขัมพานนท์) พ.ศ. 2469–2476
13 พระยาประเสริฐสุนทราศัย (พงษ์ บุรุษชาติ) พ.ศ. 2476–2477
14 หลวงศรีนรานุบาล (สมุท สาขากร) พ.ศ. 2477–2479
15 หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์ พรหมนารท) พ.ศ. 2479–2480
16 หลวงบริบาลนิคมเขตต์ (ชวน ทรัพย์สาร) พ.ศ. 2480–2483
17 พระอนุมานสารกรรม (โต้ง สรัคคานนท์) พ.ศ. 2483–2486
18 หลวงสกลผดุงเขตต์ (สรชัย สกลผดุงเขตต์) พ.ศ. 2486–2487
19 หลวงสฤษฏิ์สาราลักษณ์ (เปรม สฤษฏิ์สาราลักษณ์) พ.ศ. 2487–2490
20 หลวงอรรถวิภัชน์พจนกร (กรุง เลิศวนิช) พ.ศ. 2490–2490
21 นายสมบูรณ์ จันทร์ประทับ พ.ศ. 2490–2493
22 ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ พ.ศ. 2493–2495
23 นายสมบัติ สมบัติทวี พ.ศ. 2495–2500
24 นายยุทธ หนุนภักดี พ.ศ. 2500–2502
25 นายสันต์ เอกมหาชัย พ.ศ. 2502–2503
26 นายประกอบ ทรัพย์มณี พ.ศ. 2503–2506
27 นายสง่า ศุขรัตน์ พ.ศ. 2506–2512
28 นายเฉลิม วรรธโนทัย พ.ศ. 2512–2515
29 นายกัมพล กลิ่นสุคนธ์ พ.ศ. 2515–2516
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
30 นายกริช เกตุแก้ว พ.ศ. 2516–2519
31 นายประกิต อุตตะโมต พ.ศ. 2519–2520
32 นายพัฒนะ สุวรรณพาณิชย์ พ.ศ. 2520–2521
33 นายจินดา จิตตรอง พ.ศ. 2521–2522
34 นายมนตรี ตระหง่าน พ.ศ. 2522–2525
35 นายกุศล ศานติธรรม พ.ศ. 2525–2527
36 ดร.ไพรัตน์ เดชะรินทร์ พ.ศ. 2527–2530
37 นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2530–2532
38 ร้อยตรีสมนึก เกิดเกษ พ.ศ. 2532–2533
39 นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์ พ.ศ. 2533–2535
40 ร้อยตรีวิรุฬห์ พรหมายน พ.ศ. 2535–2539
41 นายสุนทร ริ้วเหลือง พ.ศ. 2539–2540
42 นายอนุกูล คุณาวงศ์ พ.ศ. 2540–2541
43 นายกฤษณ์ ธีระชัยชยุติ พ.ศ. 2541–2542
44 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช พ.ศ. 2542–2544
45 นายวิชัย ศรีขวัญ พ.ศ. 2544–2547
46 นายนันทชัย สุนทรพิพิธ พ.ศ. 2547–2548
47 นายเจด็จ มุสิกวงศ์ พ.ศ. 2548–2550
48 นายประภากร สมิติ พ.ศ. 2550–2551
48 นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ.ศ. 2551–2552
50 นายจำลอง โพธิ์สุข พ.ศ. 2552–2556
51 นายกำธร ถาวรสถิตย์ พ.ศ. 2556–2557
52 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ พ.ศ. 2557–2558
53 นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ พ.ศ. 2558–2559
54 นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ พ.ศ. 2559–2560
55 นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ พ.ศ. 2560–2563
56 นายสมบูรณ์ ศิริเวช พ.ศ. 2563–2564
57 นายรังสรรค์​ ตันเจริญ พ.ศ. 2564–2565
58 นายนที มนตริวัต พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน
วัฒนธรรมและประเพณี
งานมหกรรมหุ่นฟางนก
เป็นการนำฟางข้าวที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ มาประดิษฐ์เป็นรูปนกขนาดใหญ่หลายชนิด โดยนก แต่ละชนิด นำมาติดตั้งบนรถแต่ละคัน ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงามเป็นรูปขบวน หลังจากการ ประกวดหุ่นฟางนกทั้งหมดจะนำมาตั้งแสดงที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดงานประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และผลิตผลทางการเกษตร

งานส้มโอชัยนาท
ชัยนาทเป็นจังหวัดที่สามารถปลูกส้มโอทุกพันธุ์ได้ผลดี ส้มโอสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยนาทคือ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ซึ่งมีลักษณะพิเศษดังนี้คือ ผลกลม ผิวเรียบ เปลือกบาง รสหวานกรอบอมเปรี้ยว ไม่มีรสขม ปัจจุบันจังหวัดเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนปลูกกันเป็นอาชีพและจัดงานส้มโอชัยนาทเป็นประจำทุกปี ช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายนที่บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดชัยนาท มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือการประกวดส้มโอ การจัดนิทรรศการให้ความรู้ จากหน่วยงานทางราชการ การออกร้านจำหน่ายกิ่งพันธุ์และผลส้มโอของเกษตรกรชาวชัยนาท

สถานที่สำคัญ
สวนนกชัยนาท
วัดธรรมามูลวรวิหาร
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี
วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ฟาร์มจระเข้วสันต์
วัดอินทาราม
เขื่อนเจ้าพระยา
วัดกรุณา
อนุสาวรีย์ขุนสรรค์
วัดพระมหาธาตุ
วัดสองพี่น้อง
วัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท
สวนลิงชัยนาท
วัดไกลกังวล
วัดพิชัยนาวาส
เขาพลองสเตเดียม
บุคคลที่มีชื่อเสียง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตสังฆมนตรีว่าการองค์การสาธารณูปการ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดอนงคารามวรวิหาร
พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) - อดีตเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า
ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
จิ้งหรีดขาว วงศ์เทวัญ - เป็นศิลปินลิเกหญิง และนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
โชคชัย เจริญสุข - เป็นนักแสดง นักร้องชาวไทย
ดิลก ทองวัฒนา - เป็นนักแสดงชาวไทย
นันทนา สงฆ์ประชา - นักการเมืองชาวไทย
ผ่องศรี วรนุช - นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชีนีลูกทุ่งไทย
เพชรชัยนาท ดอนเจดีย์ - นักมวยชาวไทย
เพชรไทย ชูวัฒนะ - นักมวยชาวไทย
เมืองชัย กิตติเกษม - นักมวยชาวไทย
'รงค์ วงษ์สวรรค์ - นักเขียนชาวไทย
วิสารท เดชกุล - ผู้ประกาศข่าว ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ศรัณยู วินัยพานิช - นักร้องชาวไทย
ศรายุทธ ชะนะกุล - นักการเมืองชาวไทย
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ - นักเขียนได้รับรางวัลซีไรต์
ศันสนีย์ นาคพงศ์ - นักการเมืองชาวไทย
ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ - นักร้อง นักแสดง
สุริยัน ส่องแสง - เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชายชาวไทย
อนุชา นาคาศัย - นักการเมืองชาวไทย
เทียม ไชยนันทน์ - เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ศิวดล จันทเสวี - นักร้องวง 3.50
พุ่มพวง ดวงจันทร์ - นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชีนีลูกทุ่งไทย
จตุพล ภูอภิรมย์ - เป็นนักแสดงชาวไทย
ณัฐณิชา ใจแสน - นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย

Visitors: 4,661