พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางและเป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[3] และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีอำเภอเมือง แต่มี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า" ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 75 กิโลเมตร

ประวัติศาสตร์
บทความหลัก: อาณาจักรอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

ภูมิศาสตร์
สภาพภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.0
(87.8) 33.3
(91.9) 35.4
(95.7) 35.9
(96.6) 34.3
(93.7) 32.6
(90.7) 32.0
(89.6) 31.4
(88.5) 31.3
(88.3) 31.3
(88.3) 30.7
(87.3) 30.0
(86) 32.4
(90.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.0
(62.6) 19.4
(66.9) 22.3
(72.1) 24.3
(75.7) 24.5
(76.1) 24.3
(75.7) 24.0
(75.2) 23.8
(74.8) 23.5
(74.3) 22.5
(72.5) 20.0
(68) 17.4
(63.3) 21.9
(71.4)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 2.4
(0.094) 18.8
(0.74) 43.5
(1.713) 67.9
(2.673) 208.0
(8.189) 223.0
(8.78) 180.8
(7.118) 260.0
(10.236) 213.9
(8.421) 167.6
(6.598) 37.1
(1.461) 0.8
(0.031) 1,423.8
(56.055)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 0 1 4 6 15 16 17 19 17 12 3 1 111
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department[4]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด : ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา เลอคุณค่ามรดกโลก
ตราประจำจังหวัด : รูปสังข์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้าภายในปราสาทใต้ต้นหมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัด : หมัน (Cordia dichotoma)
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกโสน (สะ-โหน) (Sesbania aculeata)
สัตว์น้ำประจำจังหวัด : กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งสมเด็จ (Macrobrachium rosenbergii)
การเมืองการปกครอง
ประวัติการแบ่งเขตการปกครอง
ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการแบ่งการปกครองในราชธานีออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การปกครองภายในบริเวณกำแพงเมือง และภายนอกบริเวณกำแพงเมือง โดยในบริเวณกำแพงเมืองก็จะแบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงขุนธรณีบาล แขวงขุนโลกบาล แขวงขุนธราบาล และแขวงขุนนราบาล ต่อมาในสมัยอาณาจักรธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวมทั้ง 4 แขวงภายในกำแพงเมืองเป็นแขวงเดียวกัน เรียกว่า แขวงรอบกรุง และขยายอาณาเขตออกมาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอำเภอรอบกรุง อำเภอกรุงเก่า และอำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตามลำดับ

ส่วนการปกครองภายนอกบริเวณกำแพงเมือง บริเวณนอกกำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 แขวง ได้แก่ แขวงขุนนคร แขวงขุนอุทัย และแขวงขุนเสนา และต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวงต่าง ๆ ดังนี้

แขวงขุนนคร อยู่ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงพระนครตั้งแต่ลำน้ำลพบุรีและลุ่มน้ำป่าสัก ต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ ทางด้านตะวันตกเป็นแขวงนครใหญ่ และด้านตะวันออกเป็น แขวงนครน้อย
แขวงขุนอุทัย อยู่ทางใต้ตั้งแต่เขตของแขวงขุนนครตลอดลงมายังมายังแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออก ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงอุทัยใหญ่ และแขวงอุทัยน้อย
แขวงขุนเสนา อยู่ทางด้านตะวันตกมีอาณาเขตด้านเหนือจรดตะวันตกเฉียงใต้ของแขวงขุนนครและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็นแขวง คือ แขวงเสนาใหญ่ ทางด้านตะวันตก และแขวงเสนาน้อย ทางด้านตะวันออก
ดังนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แขวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงมีทั้งหมด 7 แขวง ได้แก่ แขวงรอบกรุง แขวงนครใหญ่ แขวงนครน้อย แขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย แขวงเสนาใหญ่ และแขวงเสนาน้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีการรวมเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล เปลี่ยนคำเรียกเมืองเป็นจังหวัด แขวงจึงต้องเปลี่ยนเป็นอำเภอตามไปด้วย และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นได้ทรงดำริว่า อำเภอแต่ละอำเภอมีพลเมืองมากและมีท้องที่กว้าง จึงให้แบ่งเขตการปกครองออกไปอีกในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอรอบกรุง อำเภออุทัยใหญ่ และอำเภออุทัยน้อย ดังนี้

อำเภอนครใหญ่ ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครใน
อำเภอนครน้อย ให้ทางตอนเหนือคงเป็นอำเภอนครน้อย และแบ่งเขตท้องที่ตอนใต้ออกเป็นอำเภอนครกลาง
อำเภอเสนาใหญ่ ให้ทางด้านทิศเหนือคงเป็นอำเภอเสนาใหญ่ และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศใต้ออกเป็นอำเภอเสนากลาง
อำเภอเสนาน้อย ให้ทางด้านทิศใต้คงเป็นอำเภอเสนาน้อย และแบ่งเขตท้องที่ด้านทิศเหนือออกเป็นอำเภอเสนาใน
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ โดยในปี พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยน้อยเป็นอำเภอพระราชวัง ในปี พ.ศ. 2446 เปลี่ยนชื่ออำเภอนครกลางเป็นอำเภอนครหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2450 ได้แบ่งเขตท้องที่อำเภอพระราชวังด้านตะวันออกรวมกับอำเภออุทัยใหญ่ด้านใต้ แล้วยกขึ้นเป็นอำเภออุทัยน้อย แทนอำเภออุทัยน้อยเดิมที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพระราชวังเมื่อปี พ.ศ. 2443 และมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่ ดังนี้[5]

อำเภอรอบกรุง เปลี่ยนเป็นอำเภอกรุงเก่า และเปลี่ยนเป็นอำเภอพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ
อำเภอนครใหญ่ เปลี่ยนเป็นอำเภอมหาราช
อำเภอนครใน เปลี่ยนเป็นอำเภอบางปะหัน
อำเภอนครน้อย เปลี่ยนเป็นอำเภอท่าเรือ
อำเภอนครหลวง คงเป็นอำเภอนครหลวงดังเดิม
อำเภอเสนาใหญ่ เปลี่ยนเป็นอำเภอผักไห่
อำเภอเสนาใน เปลี่ยนเป็นอำเภอบางบาล
อำเภอเสนากลาง เปลี่ยนเป็นอำเภอเสนา
อำเภอเสนาน้อย เปลี่ยนเป็นอำเภอราชคราม และเปลี่ยนเป็นอำเภอบางไทร ตามลำดับ
อำเภอพระราชวัง เปลี่ยนเป็นอำเภอบางปะอิน
อำเภออุทัยใหญ่ เปลี่ยนเป็นอำเภออุทัย
อำเภออุทัยน้อย เปลี่ยนเป็นอำเภอวังน้อย
และอีก 4 กิ่งอำเภอได้แก่ กิ่งอำเภอลาดบัวหลวง (ขึ้นกับอำเภอบางไทร), กิ่งอำเภอภาชี (ขึ้นกับอำเภออุทัย), กิ่งอำเภอบางซ้าย (ขึ้นกับอำเภอเสนา) และกิ่งอำเภอบ้านแพรก (ขึ้นกับอำเภอมหาราช) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามลำดับจนครบในปี พ.ศ. 2502

การแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน
การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน
ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 16 อำเภอ 209 ตำบล ได้แก่

อำเภอพระนครศรีอยุธยา
อำเภอท่าเรือ
อำเภอนครหลวง
อำเภอบางไทร
อำเภอบางบาล
อำเภอบางปะอิน
อำเภอบางปะหัน
อำเภอผักไห่
อำเภอภาชี
อำเภอลาดบัวหลวง
อำเภอวังน้อย
อำเภอเสนา
อำเภอบางซ้าย
อำเภออุทัย
อำเภอมหาราช
อำเภอบ้านแพรก
การปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 158 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลเมือง 5 แห่ง, เทศบาลตำบล 30 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 121 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

อำเภอพระนครศรีอยุธยา

เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
เทศบาลเมืองอโยธยา
อำเภอท่าเรือ

เทศบาลตำบลท่าเรือ
เทศบาลตำบลท่าหลวง
อำเภอนครหลวง

เทศบาลตำบลนครหลวง
เทศบาลตำบลอรัญญิก
อำเภอบางไทร

เทศบาลตำบลบางไทร
เทศบาลตำบลราชคราม
อำเภอบางบาล

เทศบาลตำบลบางบาล
เทศบาลตำบลมหาพรามณ์
อำเภอบางปะอิน

เทศบาลเมืองบ้านกรด
เทศบาลตำบลบางปะอิน
เทศบาลตำบลบ้านสร้าง
เทศบาลตำบลพระอินทราชา
เทศบาลตำบลปราสาททอง
เทศบาลตำบลคลองจิก
เทศบาลตำบลเชียงรากน้อย
เทศบาลตำบลบางกระสั้น
เทศบาลตำบลตลาดเกรียบ
อำเภอบางซ้าย

เทศบาลตำบลบางซ้าย
อำเภอบางปะหัน

เทศบาลตำบลบางปะหัน
อำเภอผักไห่

เทศบาลเมืองผักไห่
เทศบาลตำบลลาดชะโด
อำเภอภาชี

เทศบาลตำบลภาชี
อำเภอลาดบัวหลวง

เทศบาลตำบลลาดบัวหลวง
เทศบาลตำบลสามเมือง
อำเภอวังน้อย

เทศบาลเมืองลำตาเสา
อำเภอเสนา

เทศบาลเมืองเสนา
เทศบาลตำบลสามกอ
เทศบาลตำบลเจ้าเจ็ด
เทศบาลตำบลบางนมโค
เทศบาลตำบลหัวเวียง
อำเภออุทัย

เทศบาลตำบลอุทัย
อำเภอมหาราช

เทศบาลตำบลมหาราช
เทศบาลตำบลโรงช้าง
อำเภอบ้านแพรก

เทศบาลตำบลบ้านแพรก
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 เจ้าพระยาชัยวิชิตสิทธิสงคราม สมัยรัชกาลที่ 1
2 พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชสุรชาติเสนาบดี สมัยรัชกาลที่ 3
3 พระยามหาสิริธรรมพโลปถัมภ์เทพทราวดีศรีรัตนธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ สมัยรัชกาลที่ 4
4 พระยาสีหราชฤทธิไกรยุตินัเนติธรรมธาดามหาปเทศาธิบดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ สมัยรัชกาลที่ 4
5 พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ สมัยรัชกาลที่ 4
6 พระยาชัยวิชิตสิทธิสาตรามหาปเทศาธิบดี (สิงห์โต) สมัยรัชกาลที่ 5
7 พระยาเพชรชฎา (นาค ณ ป้อมเพชร)
(ภายหลังรับพระราชทานบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดามหานคราธิการ) สมัยรัชกาลที่ 5
8 หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (พร เดชะคุปต์)
(ภายหลังเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระอนุรักษ์ภูเบศร์, พระยาโบราณบุรานุรักษ์,
และพระยาโบราณราชธานินทร์ ตามลำดับ) สมัยรัชกาลที่ 5
9 พระยาพิทักษ์เทพธานี (ชุ่ม อรรถจินดา) สมัยรัชกาลที่ 5
10 หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) พ.ศ. 2447–2448[6][7]
11 พระยาอมรฤทธิธำรง (ฉี่ บุนนาค) พ.ศ. 2454–2455
12 หลวงพิทักษ์ฤทธิรงค์ (บุญ บุญอารักษ์) พ.ศ. 2455
13 พระพิทักษ์เทพธานี (พร พิมพะสุต) พ.ศ. 2456–2459
14 พระพิทักษ์เทพธานี (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2459–2462
15 พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค) พ.ศ. 2462–2465
16 พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) พ.ศ. 2465
17 พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ์-ชูโต) พ.ศ. 2465–2468
– พระทวาราวดีภิบาล (เชย ชัยประภา) ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2468–2472
18 พระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ) พ.ศ. 2472–2474
19 พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) พ.ศ. 2474–2476
20 พระณรงค์ฤทธิ์ (ชาย ดิฐานนท์) พ.ศ. 2476–2479
21 พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร) พ.ศ. 2479–2482
22 หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตรย์) พ.ศ. 2482–2484
23 หลวงประสิทธิบุรีรักษ์ (ประยงค์ สุขะปิยังคุ) พ.ศ. 2484–2489
24 ขุนปฐมประชากร (สมบูรณ์ จันทรประทีป) พ.ศ. 2489–2490
25 พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุนนาค) พ.ศ. 2490–2495
26. ถนอม วิบูลษ์มงคล พ.ศ. 2495–2495
27 ขุนธรรมรัฐูธุราทร (ธรรมรัตน์ โรจนสุนทร) พ.ศ. 2495–2496
ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
28 เกียรติ ธนกุล พ.ศ. 2496–2497
29 สง่า ศุขรัตน์ พ.ศ. 2497–2498
30 สุทัศน์ สิริสวย พ.ศ. 2498–2502
31 พ.ต.อ. เนื่อง รายะนาค พ.ศ. 2502–2510
32 จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา พ.ศ. 2510–2514
33 วรวิทย์ รังสิโยทัย พ.ศ. 2514–2516
34 ร.ต.ท. ระดม มหาศรานนท์ พ.ศ. 2516–2517
35 วิทยา เกษรเสาวภาค พ.ศ. 2517–2519
36 สมพร ธนสถิตย์ พ.ศ. 2519–2520
37 วิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2520–2521
38 สุชาติ พัววิไล พ.ศ. 2521–2523
39 ฉลอง วงษา พ.ศ. 2523–2524
40 ร.ต. กิติ ประทุมแก้ว พ.ศ. 2524–2529
41 ชัยวัฒน์ หุตะเจริญ พ.ศ. 2529–2534
42 ปรีดี ตันติพงศ์ พ.ศ. 2534–2537
43 บรรจง กันตวิรุฒ พ.ศ. 2537–2540
44 ยุวัฒน์ วุฒิเมธี พ.ศ. 2540–2542
45 ฐิระวัตร กุลละวณิชย์ พ.ศ. 2542–2545
46 สุรพล กาญจนะจิตรา พ.ศ. 2545–2546
47 สมศักดิ์ แก้วสุทธิ พ.ศ. 2546–2548
48 สมชาย ชุ่มรัตน์ พ.ศ. 2548–2549
49 เชิดพันธ์ ณ สงขลา พ.ศ. 2549–2551
50 ปรีชา กมลบุตร พ.ศ. 2551–2552
51 วิทยา ผิวผ่อง พ.ศ. 2552–2557
52 อภิชาติ โตดิลกเวชช์ พ.ศ. 2557–2558
53 ประยูร รัตนเสนีย์ พ.ศ. 2558–2559
54 สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ พ.ศ. 2559–2562
55 ภานุ แย้มศรี พ.ศ. 2562–2564
56 วีระชัย นาคมาศ พ.ศ. 2564–2565
57 นิวัฒน์ รุ่งสาคร พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน
เศรษฐกิจ

สวนอุตสาหกรรมโรจนะในช่วงมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 2 มีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค), นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง และมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟตเตอรี่แลนด์วังน้อย สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2

ประชากร
สถิติประชากร
ตามทะเบียนราษฎร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปี ประชากร ±%
2549 753,986 —
2550 760,712 +0.9%
2551 769,126 +1.1%
2552 775,157 +0.8%
2553 782,096 +0.9%
2554 787,653 +0.7%
2555 793,509 +0.7%
2556 797,970 +0.6%
2557 803,599 +0.7%
2558 808,360 +0.6%
2559 810,320 +0.2%
2560 813,852 +0.4%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8]
[icon]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
โครงสร้างพื้นฐาน
การศึกษา
สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สำนักอธิการบดี หันตรา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์วาสุกรี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา
สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษา
สถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยเสริมทักษะพระภิกษุสามเณรอำเภอบางปะอิน
วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ อำเภออุทัย
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร
วิทยาลัยการอาชีพเสนา อำเภอเสนา
วิทยาลัยการอาชีพมหาราช อำเภอมหาราช
สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยาอำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอโยธยาบริหารธุรกิจ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยเทคโนโลยีผดุงเสนาบริหารธุรกิจ อำเภอเสนา
โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย (บ้านอ้อวิทยาคาร) อำเภอผักไห่
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา
โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
สถานศึกษาขนาดใหญ่
โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
โรงเรียนบางปะอิน"ราชานุเคราะห์1" อำเภอบางปะอิน
โรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" อำเภอเสนา
โรงเรียนท่าเรือ"นิตยานุกุล" อำเภอท่าเรือ
สถานศึกษาขนาดกลาง
โรงเรียนบางปะหัน อำเภอบางปะหัน
โรงเรียนวังน้อยพนมยงค์วิทยา อำเภอวังน้อย
โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ วังน้อย
โรงเรียนบางไทรวิทยา อำเภอบางไทร
โรงเรียนนครหลวงอุดมรัตช์วิทยา นครหลวง
โรงเรียนผักไห่ "สุธาประมุข" อำเภอผักไห่
โรงเรียนอุทัย อำเภออุทัย
โรงเรียนลาดบัวหลวงไพโรจน์วิทยา อำเภอลาดบัวหลวง
โรงเรียนภาชี "สุนทรวิทยานุกุล" อำเภอภาชี
การขนส่ง
ถนน
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 308
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 356
การเดินทางเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวีไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานีทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มตั้งแต่กิโลเมตรที่ 71+570 ที่ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางไทร ตัดถนนสามโคก-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร (3309) ที่กิโลเมตรที่ 72 เข้าสู่พื้นที่อำเภอบางปะอิน ตัดทางพิเศษอุดรรัถยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่กิโลเมตรที่ 77 ข้ามคลองเปรมประชากรและทางรถไฟสายเหนือ ไปบรรจบถนนพหลโยธิน กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32กิโลเมตรที่ 52-53
ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด หรือ "ทางด่วน 2 (ส่วนนอกเมือง)") เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ถึง ถนนกาญจนาภิเษก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รถโดยสารประจำทาง
ปัจจุบันรถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ-อยุธยา มีให้บริการ 2 ประเภท[9] 1.รถบัส ประเภท ปรับอากาศชั้น 2 สายที่ 901 กรุงเทพฯ (หมอชิตใหม่) -อยุธยา ให้บริการอยู่ที่ ท่ารถไปกรุงเทพฯ (ถนนนเรศวร) 2.รถตู้ ประเภท มาตรฐาน 2 (จ) 2 (ต) 2 (ช)


รถโดยสารประจำทางพัดลม สายสุพรรณบุรี - อยุธยา
ประเภทรถ ต้นทาง เวลาบริการ ค่าโดยสาร เวลาเดินทาง
ปรับอากาศชั้น 1 (ไม่มีการให้บริการแล้ว) กรุงเทพ 69 1 ชั่วโมง 30 นาที
ปรับอากาศชั้น 1 (ไม่มีการให้บริการแล้ว) อยุธยา 69 1 ชั่วโมง 30 นาที
ปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพ 53 1 ชั่วโมง 30 นาที
ปรับอากาศชั้น 2 อยุธยา 05:00 07:00 16:30 เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดพิเศษ 07:00 09:00 16:30 53 1 ชั่วโมง 30 นาที
รถไฟ

สถานีรถไฟอยุธยา
การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
รถสามล้อถีบ คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
รถจักรยานยนต์รับจ้าง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอบางบาล 13 กิโลเมตร
อำเภออุทัย 13 กิโลเมตร
อำเภอบางปะหัน 14 กิโลเมตร
อำเภอนครหลวง 18 กิโลเมตร
อำเภอเสนา 22 กิโลเมตร
อำเภอบางปะอิน 24 กิโลเมตร
อำเภอมหาราช 28 กิโลเมตร
อำเภอภาชี 29 กิโลเมตร
อำเภอบางไทร 30 กิโลเมตร
อำเภอวังน้อย 30 กิโลเมตร
อำเภอผักไห่ 33 กิโลเมตร
อำเภอบางซ้าย 35 กิโลเมตร
อำเภอบ้านแพรก 44 กิโลเมตร
อำเภอท่าเรือ 44 กิโลเมตร
อำเภอลาดบัวหลวง 50 กิโลเมตร
สถานที่สำคัญ

วัดพระศรีสรรเพชญ์

พระราชวังโบราณ อยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคล

หอวิฑูรทัศนาและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญในพระราชวังบางปะอิน
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา (ATC)
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
วัดพระศรีสรรเพชญ์
พระราชวังโบราณ อยุธยา
พระที่นั่งวิหารสมเด็จ
พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท
พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์
พระที่นั่งตรีมุข
พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์
วัดไชยวัฒนาราม
วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดสุวรรณดาราราม
วัดสะตือ
วัดตะโก
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
พระราชวังบางปะอิน
คลองรางจระเข้
เพนียดคล้องช้าง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม
เขื่อนพระรามหก เขื่อนทดน้ำแห่งแรกในประเทศไทย
เมืองพี่เมืองน้อง
เมืองหนานซาง สาธารณรัฐประชาชนจีน
นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา
เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ริชมอนด์ (รัฐเวอร์จิเนีย) รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
เว้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
บุคคลที่มีชื่อเสียง
ด้านศาสนา
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบางหว้าใหญ่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้ อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้ และอดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารรูปแรก
สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ โฆสโก) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก อดีตสมาชิกสังฆสภา อดีตสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง อดีตเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) (นามเดิม:สมศักดิ์ ชูมาลัยวงศ์) สมเด็จพระราชาคณะ อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค๑๔-๑๕ (ธรรมยุต) แม่กองธรรมสนามหลวง เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร รักษาการเจ้าคณะภาค๔-๗ (ธรรมยุต)
พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารรูปปัจจุบัน
พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) หรือ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางนมโค อำเภอเสนา
หลวงพ่อจง พุทธสโร พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร
พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม อตฺตสนฺโต) พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดพระขาว อำเภอบางบาล
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พุทธสาวิกาในพุทธศาสนาและยังเป็นเป็นวิทยากรประจำและผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน
พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่ปรึกษาคณะสงฆ์วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
การเมือง
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 7
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 8
ประมวล สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม
บุญพันธ์ แขวัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 9 สมัย
ดำรง พุฒตาล พิธีกรชื่อดัง และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์) และอดีตเสนาธิการทหารบก
วิทยา บุรณศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ครม.60
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 56
วิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2515 2534
พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ศิลปวัฒนธรรมและบันเทิง
หลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) ครูดนตรีไทย และต้นสกุลพาทยโกศล เป็นบิดาของจางวางทั่ว พาทยโกศล
รวงทอง ทองลั่นธม นักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ วงสุนทราภรณ์ และศิลปินแห่งชาติ
ส.พลายน้อย (ชื่อจริง สมบัติ พลายน้อย) ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ และนักเขียนสารคดีประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมชื่อดัง
สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นักเขียนเจ้าของนามปากกาสิงห์สนามหลวง ผู้ก่อตั้งรางวัลช่อการะเกด
สรพงศ์ ชาตรี นักแสดง และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
สำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)
ชลิต เฟื่องอารมย์ นักแสดง นักร้อง
ชรัส เฟื่องอารมย์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง
บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้เขียนบทภาพยนตร์
พีระ ตรีบุปผา นักแต่งเพลง นักดนตรี และนักเรียบเรียงเสียงประสาน
แอน มิตรชัย นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง
รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง นักร้อง นักแต่งเพลงนักแสดง และผู้กำกับละครโทรทัศน์
กันต์ธีร์ ปิติธัญ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง
คมกฤษ ตรีวิมล นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์
ศศินา พนมธรนิจกุล นักแสดง
ลือชัย นฤนาท อดีตนักแสดง
กีฬา
นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย
เสกสรรค์ ทับทอง นักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทย
จันทิมา ใจสนุก นักกีฬาร่มร่อนทีมชาติไทย

Visitors: 4,661