สุพรรณบุรี

สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี

ประวัติศาสตร์

พระพุทธรูปวัดป่าเลไลยก์

กำแพงเมืองและประตูเมืองสุพรรณบุรี
สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง

ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี[ต้องการอ้างอิง]

ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา[ต้องการอ้างอิง]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้

ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ

ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์

สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย

ภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของสุพรรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางเหนือและทางตะวันตกและทิศเหนือ มีอุทยานแห่งชาติพุเตย แหล่งนํ้าสำคัญคือเขื่อนกระเสียว ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว

การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน โดยทั้ง 10 อำเภอมีดังนี้

1 อำเภอเมืองสุพรรณบุรี 
 2 อำเภอเดิมบางนางบวช 
 3 อำเภอด่านช้าง 
4 อำเภอบางปลาม้า 
 5 อำเภอศรีประจันต์ 
 6 อำเภอดอนเจดีย์ 
7 อำเภอสองพี่น้อง 
 8 อำเภอสามชุก 
 9 อำเภออู่ทอง 
10 อำเภอหนองหญ้าไซ 
จังหวัดสุพรรณบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 127 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเทศบาลเมืองสองพี่น้อง, เทศบาลตำบล 44 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
เทศบาลตำบลท่าเสด็จ
เทศบาลตำบลโพธิ์พระยา
เทศบาลตำบลสวนแตง
เทศบาลตำบลบางกุ้ง
เทศบาลตำบลท่าระหัด
เทศบาลตำบลห้วยวังทอง
เทศบาลตำบลบ้านโพธิ์
เทศบาลตำบลรั้วใหญ่
อำเภอเดิมบางนางบวช
เทศบาลตำบลเขาพระ
เทศบาลตำบลนางบวช
เทศบาลตำบลบ่อกรุ
เทศบาลตำบลเขาดิน
เทศบาลตำบลปากน้ำ
เทศบาลตำบลเดิมบาง
เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม
เทศบาลตำบลทุ่งคลี
อำเภอด่านช้าง
เทศบาลตำบลด่านช้าง
อำเภอบางปลาม้า
เทศบาลตำบลโคกคราม
เทศบาลตำบลบางปลาม้า
เทศบาลตำบลบ้านแหลม
เทศบาลตำบลไผ่กองดิน
เทศบาลตำบลต้นคราม
เทศบาลตำบลตะค่า
เทศบาลตำบลบ้านแหลมพัฒนา
อำเภอศรีประจันต์
เทศบาลตำบลศรีประจันต์
เทศบาลตำบลวังยาง
เทศบาลตำบลปลายนา
เทศบาลตำบลบ้านกร่าง
เทศบาลตำบลวังหว้า
เทศบาลตำบลวังน้ำซับ
อำเภอดอนเจดีย์
เทศบาลตำบลดอนเจดีย์
เทศบาลตำบลสระกระโจม
อำเภอสองพี่น้อง
เทศบาลเมืองสองพี่น้อง
เทศบาลตำบลทุ่งคอก
อำเภอสามชุก
เทศบาลตำบลสามชุก
อำเภออู่ทอง
เทศบาลตำบลอู่ทอง
เทศบาลตำบลสระยายโสม
เทศบาลตำบลขุนพัดเพ็ง
เทศบาลตำบลบ้านดอน
เทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง
เทศบาลตำบลบ้านโข้ง
เทศบาลตำบลกระจัน
เทศบาลตำบลเจดีย์
เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน
อำเภอหนองหญ้าไซ
เทศบาลตำบลหนองหญ้าไซ
ผู้ว่าราชการจังหวัด

 นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน
โครงสร้างพื้นฐาน
การขนส่ง
ถนนที่สำคัญในสุพรรณบุรี
สำหรับถนนในหมายเลขที่ 1-10 เป็นถนนที่ใช้ชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน นิทานพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่

ถนนพระพันวษา
ถนนขุนไกร
ถนนม้าสีหมอก และ ถนนหมื่นหาญ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3431)
ถนนเณรแก้ว
ถนนขุนแผน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017)
ถนนนางพิม
ถนนขุนช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3318)
ถนนหลวงทรงพล
ถนนพลายชุมพล
ถนนขุนไกร
ส่วนถนนต่อไปนี้ เป็นถนนที่ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่

ถนนบางบัวทอง-ชัยนาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
ถนนมาลัยแมน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321)
ถนนประชาธิปไตย
ถนนวงแหวนรอบเมืองสุพรรณบุรี
สะพานที่สำคัญ
สะพานอาชาสีหมอก ๑
สะพานอาชาสีหมอก ๒
สะพานอาชาสีหมอก ๓
สะพานวัดพระรูป
ทางรถไฟ

จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นมีทางรถไฟผ่านโดยเป็นทางรถไฟที่แยกมาจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี โดยเปิดเดินรถเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีที่หยุดรถ/ป้ายหยุดรถ/สถานีในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีดังนี้

1.ที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียง

2.ที่หยุดรถศรีสำราญ

3.ที่หยุดรถดอนสงวน

4.ป้ายหยุดรถดอนทอง

5.ที่หยุดรถหนองผักชี

6.ที่หยุดรถบ้านมะขามล้ม

7.ที่หยุดรถสะแกย่างหมู

8.สถานีสุพรรณบุรี

9.ที่หยุดรถมาลัยแมน

โดยในปัจจุบันนั้นมีรถไฟให้บริการ 2 ขบวน คือขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 โดยขบวน 355 ปลายทางสุพรรณบุรีวันอาทิตย์ ขบวน 356 ต้นทางสุพรรณบุรีวันจันทร์ ส่วนวันอื่นๆนั้นขบวนรถจะสิ้นสุดปลายทางแค่ชุมทางหนองปลาดุก

การศึกษา
โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี
ระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ด่านช้าง สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์เดิมบางนางบาช สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์สุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี
วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
ระดับอาชีวศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีสหวิทย์บริหารธุรกิจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี
วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส
วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี
วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง
วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
สาธารณสุข
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗
โรงพยาบาลอู่ทอง
โรงพยาบาลด่านช้าง
โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช
โรงพยาบาลสามชุก
โรงพยาบาลศรีประจันต์
โรงพยาบาลดอนเจดีย์
โรงพยาบาลบางปลาม้า
โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ
โรงพยาบาลศุภมิตร
โรงพยาบาลพรชัย
โรงพยาบาลเทวพร
โรงพยาบาลธนบุรี-อู่ทอง
โรงพยาบาลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สถานีอนามัยดอนขุนราม)

Visitors: 4,661